วิจารณ์วรรณกรรมเรื่อง “มีดประจำตัว” ตามทฤษฎีมาร์กซิสต์
๑. ทฤษฎีวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ (Historical Materialism)
เรื่อง “มีดประจำตัว” นอกจากจะมีปัญหาทางด้านการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคมอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ทางด้านการผลิตที่ชนชั้นกลางเป็นผู้อยู่เหนือกว่า มีอำนาจมากกว่าในการซื้อขายในระบบทุนนิยม นอกเหนือจากปัจจัย ๔ แล้วสิ่งที่มนุษย์ในยุคนี้ต้องการมาก โดยเฉพาะพวกชนชั้นกลางที่ต้องการความมั่งคั่ง เงินทองและอำนาจเหนือกว่าผู้อื่น เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการผลิตของพวกเขา ถือว่าเป็นการเห็นวัตถุยิ่งใหญ่กว่าสิ่งใด ในเนื้อเรื่องกล่าวถึงความหิวกระหายของชนชั้นกลางที่ต้องการมีอำนาจและเงินทอง โดยเป็นการแข่งขันกันทางสังคม ใครมีมีดประจำตัวหรืออาวุธที่เรียกว่าอำนาจมากที่สุด ก็ถือว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในวงการสังคมชั้นสูง
นอกจากมีดประตัวของพวกชนชั้นกลางทั้งหลาย ผ้ากันเปื้อนหรือเกราะป้องกันความเสื่อมของอำนาจก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้พวกเขาอยู่เหนือความถูกต้อง ความยุติธรรมของสังคม วัตถุทั้งสองสิ่งนี้ทำให้วกเขาสามารถกดขี่ข่มหงพวกชนชั้นล่างได้อย่างดี ซึ่งเปรียบเสมือนเงินทอง อำนาจ และจิตใจอันชั่วร้ายที่คิดจะเอารัดเอาเปรียบอยู่ตลอดเวลา
นอกจากพวกชนชั้นกลางรุ่นใหญ่แล้ว ในเรื่องนี้ยังกล่าวถึงพ่อแม่ที่พยายามสอนลูกให้รู้จักความสุขในการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น สอนให้ลูกเห็นคุณค่าของวัตถุที่เกิดขึ้นตามความเจริญของยุคสมัยมากกว่าจิตใจมนุษย์ด้วยกัน เป็นการสะท้อนสังคมที่ชนชั้นล่างมักถูกชนชั้นกลางเอารัดเอาเปรียบและกดขี่ข่มเหง บางครั้งชนชั้นล่างหลายคนไม่มีทางต่อสู้นอกจากความตายที่จะหลุดพ้น
ดังนั้นเรื่องนี้เหมือนเป็นการสะท้อนให้ผู้อ่านเห็นความเสียเปรียบของชนชั้นล่าง และการพยายามดันตัวเองให้สูงขึ้นของชนชั้นกลาง อีกทั้งความได้เปรียบทางด้านการผลิตและการลงของพวกชนชั้นกลางที่มีทั้งอำนาจและเงินทอง
๒. พัฒนาการของสังคม
พัฒนาการของสังคมที่มีในเรื่องนี้ เป็นการเจริญเติบโตของอำนาจของชนชั้นกลาง ที่เกิดขั้นพร้อมกับเศรษฐกิจทุนนิยม โดยเฉพาะในยุคนี้ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ทั้งเทคโนโลยีและการค้าระหว่างประเทศ การเป็นประเทศเปิดทำให้พวกชนชั้นกลางยิ่งมีโอกาสมากขึ้นในการขยายผลผลิตและอำนาจของตนเอง
๓) สังคมในฐานะเป็นผลผลิตทางประวัติศาสตร์
รูปแบบของสังคมเป็นผลผลิตของกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ใช่เป็นไปตามธรรมชาติ ในเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินชีวิตปกติของชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในประวัติศาสตร์ คือ การต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะชนชั้นทางสังคม ในที่นี้เป็นการต่อสู้แข่งขันกันทางสังคมและการผลิต (เศรษฐกิจ) มีความสัมพันธ์ทางอำนาจซึ่งเป็นผลผลิตจากการแข่งขัน “มีดประจำตัว” เป็นอาวุธที่ใช้ในการแข่งขัน “ผ้ากันเปื้อน” เป็นเสมือนสิ่งป้องกันไม่ให้ผู้อื่นรับรู้หรือเห็นร่อยรอยการกระทำที่ไม่ดีของตน ช่วยปกปิดความชั่วของตนไว้
มีดประจำตัวเป็นอำนาจที่ประกอบไปด้วยความไร้มนุษยธรรม ในการเอารัดเอาเปรียบชนชั้นล่าง ที่ใครๆต่างโหยหาและต้องการ จากตัวอย่างข้อความในเรื่องที่ว่า “รักษามีดประจำตัวเอาไว้ให้ดีมันเป็นสิทธิ์ที่เจ้าจะได้กินเนื้อคนด้วยกัน” (ชาติ กอบจิตติ. ๒๕๒๗ : ๑๙๘) เป็นคำพูดของพ่อที่กล่าวกับลูกชาย ซึ่งได้รับมีดประจำตัวหลังจากที่ได้รับโอนบริษัทจากพ่อ ๒ บริษัท
๔) ความสำคัญของพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Economic Base)
ความคิดที่ว่าสถาบันทางเศรษฐกิจ มีความสำคัญเป็นอันดับแรกในสังคม เจ้าของปัจจัยการผลิตเป็นผู้ได้ประโยชน์สูงสุด ส่วนชนชั้นแรงงานถูกขูดรีด เอารัดเอาเปรียบนั้นเป็นรากฐานสำคัญของระบบทุนนิยม
บรรดาเหยื่อที่ถูกนำมาเป็นอาหารนั้นล้วนแล้วแต่เป็นชนชั้นล่าง ไร้อำนาจในการต่อรอง ตัวอย่างคนรับใช้ในเรื่องนี้ ต้องก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่อย่างเอ่ยปากประท้วงไม่ได้ เพราะงานที่ทำเป็นการ อำนวยความสะดวกให้กับนายจ้าง และคอยบริการในสิ่งที่นายจ้างออกคำสั่ง ให้คุ้มกับค่าตอบแทนที่ได้รับ แม้จะโดนกดขี่อย่างไรก็ตาม
ตัวอย่าง
ผมเรียกคนรับใช้ประจำโต๊ะกลับมาปลดผ้ากันเปื้อน ซึ่งเปรอะเลือดออกจากตัว
เขาลนลานมาพินอบยิ่งกว่าเดิม ภาพที่เห็นคงทำให้เขาตกใจ และคงสอนให้เขา
เชื่อฟังผมเป็นอย่างดีทีเดียว ถ้าเขาไม่อยากเป็นอย่างร่างที่ถูกรุม
(ชาติ กอบจิตติ. ๒๕๒๗ : ๑๙๕)
๕. การแบ่งแยกชนชั้น (Class Division)
ในสังคมสมัยใหม่ประกอบด้วยสองชนชั้น โดยชนชั้นที่เป็นเจ้าชองปัจจัยการผลิต มีเงิน มีทุน มีกฎหมายอยู่ในมือของตนจะแสดงอำนาจที่อยู่เหนือชนชั้นกรรมกรไร้สมบัติ การแบ่งแยกชนชั้นแบบนี้เป็นเพราะพื้นฐานทางทรัพยากรอำนาจและผลประโยชน์ที่ต่างกัน
เนื้อเรื่องมีดประจำตัวแสดงให้เห็นกลุ่มคนที่มีอำนาจ ซึ่งเป็นเพียงกลุ่มหนึ่งในสังคม แต่มีอำนาจ มีชื่อเสียง เกียรติยศ มีการศึกษา และมีสิทธิ์ที่จะมี “มีดประจำตัว” ส่วนคนชั้นล่างที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้นยังประสบกับความจน เป็นฝ่ายถูกกระทำเสมอเพราะไม่มีสิทธิ์มีเสียงพอที่จะแสดงความคิดเห็นได้ทั้งยังถูกมองว่าเป็นคนชั้นต่ำ ชี้ให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันของสังคม การแบ่งแยกชนชั้นของคนในสังคม ดังตัวอย่าง
เขาได้รับอนุญาตให้มีสิทธิ์มีมีดประจำตัวได้ซึ่งน้อยคนนักที่จะได้รับโอกาสเช่นนี้
ถ้าเทียบกับพลเมืองที่มีทั้งหมดในเมืองของเรา เราเป็นเพียงกลุ่มคนหยิบมือเดียว
ที่มีสิทธิ์มีมีดประจำตัว ที่เหลือนอกนั้นเป็นมนุษย์ชั้นต่ำ
(ชาติ กอบจิตติ. ๒๕๒๗ : ๑๘๓)
๖. ความแปลกแยก(Alienation) ภายใต้ทุนนิยม
ความแปลกแยก เป็นภาวะที่คนรู้สึกว่า ศักดิ์ศรีหรือค่าความเป็นมนุษย์ของตนเองนั้นถูกลดทอนลงไป
เนื้อหาของ มีดประจำตัวแสดงให้เห็นการเอารัดเอาเปรียบ การกินเลือดกินเนื้อของประชาชนที่ไม่มีสิทธิ์มีเสียงในการต่อสู้
ร่างของชายคนหนึ่งนอนอยู่บนเตียงโลหะกำลังถูกเข็นเข้ามา ร่างกายของเขาไม่มีอะไร
ปกปิดนอกจากปลอกเหล็กที่ที่ยึดไว้ตรงกลางลำตัว แขน ขา ส่วนหัวถูกคลุมด้วยกล่องโลหะสี่เหลี่ยม
มาถึงคอยึดติดกับเตียง ไม่มีใครเห็นหน้าเขา ไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นใคร เตียงแรกผ่านไป
เตียงสองผ่านไป ทุกสิ่งคล้ายกับเตียงแรก...
(ชาติ กอบจิตติ. ๒๕๒๗ : ๑๙๑ )
ร่างนั้นสะบัดดิ้นเร่าๆ แต่ก็ไม่สามารถหลุดพ้นจากพันธนาการของปลอกเหล็ก
(ชาติ กอบจิตติ. ๒๕๒๗ : ๑๙๒ )
ภาพของคนหลายคนเป็นเพียงคนเล็กน้อยที่ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีสิทธิ์มีเสียง ไม่มีกระทั่งสิทธิ์
อุทธรณ์ขอชีวิต ต้องกลายเป็นกลายอาหารอันโอชะของคนชั้นสูง เหยื่อหลายคนถูกพันธนาการ ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดจนไม่สามารถจะดิ้นให้หลุดได้ นี่เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าชนชั้นที่ไร้ซึ่งอำนาจ ไร้ปากเสียง ย่อมตกเป็นเหยื่อของคนที่มีอำนาจ
เรื่องสั้นเรื่องนี้สะท้อนความแตกต่างระหว่างชนชั้น เป็นการทำให้ผู้อ่านตระหนักว่า ในสังคมของ
เรายังมีช่องว่างที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลฉวยโอกาสจากคนที่ไร้ปากเสียงอยู่มาก เรื่องนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นการลุกฮือขึ้นปฏิบัติของชนชั้นล่างหรือชั้นกรรมาชีพ แต่เป็นกระจกที่สะท้อนภาพของความแตกต่างระหว่างชนชั้น และสร้างสำนึกให้ผู้อ่าน
๗. การวิเคราะห์อุดมการณ์
มาร์กซ มองว่าค่านิยมและปทัสถานมีลักษณะเป็นอุดมการณ์ ในแลงที่สะท้อนถึงผลประโยชน์ของชนชั้นสูง ความเชื่อ ศีลธรรม กฎหมาย ต่างๆ ถูกนำมารองรับความถูกต้องให้กับอำนาจของชนชั้นเหมือนกับ การใช้ “ผ้ากันเปื้อน” มาเป็นโล่กำบัง เพื่อไม่ให้ความผิดแปดเปื้อนตนเอง ทั้งที่สิ่งที่กินดื่มเข้าไปนั้น เป็นเลือดเนื้อของคนเป็นๆ เป็นชีวิตของคนที่ไร้ทางต่อสู้
ภรรยาของผมจัดแจงผูกผ้ากันเปื้อนให้ลูกชาย ซึ่งเธอเป็นคนเลือกซื้อมาสำหรับ
วันนี้โดยเฉพาะ เธออวดผมตอนเย็น มันเป็น “ผ้ากันเปื้อน” ตัดเย็บด้วยฝีมือประณีต
สีเทาทึม ดูสง่าตามแบบฉบับของลูกผู้ชาย
(ชาติ กอบจิตติ. ๒๕๒๗ : ๑๘๘ )