วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทฤษฎีมาร์กซิสต์



ทฤษฎีมาร์กซิสต์
.ทฤษฎีวัตถุนิยมประวัติศาสตร์  (Historical Materialism)
                 ฐานคิดที่สำคัญสุดของหลักการนี้คือ  ปัญหาวัตถุที่เกี่ยวกับการผลิตปัจจัยพื้นฐานที่มีความจำเป็นใน          การดำรงชีวิตของมนุษย์ ๔ ประการ (อาหาร เครื่องดื่ม ที่อยู่ ยา)  ปัญหาเหล่านี้ถูกนำไปสู่กิจกรรมทางสังคมแลวิธีการแก้ปัญหาก็แตกต่างกันไปตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  ซึ่งสังคมสมัยใหม่มีการจัดระเบียบสังคมในรูปของการแบ่งงานกัน  เป็นระบบและตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น  ไม่เพียงแต่ความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์เท่านั้น  แต่ยังมีสินค้าและบริการอื่นๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น  ในระบบเศรษฐกิจที่มีความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรม  และเทคโนโลยี

.พัฒนาการของสังคม 
                สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต  ซึ่ง Marx มองเห็นขบวนการที่ก้าวหน้าจากสังคมเผ่าในยุคสมัยแรกๆ ผ่านสังคมโบราณไปสู่สังคมฟิวดัลในยุคกลาง  จนมาถึงรูปแบบของสังคมทุนนิยมสมัยใหม่ในที่สุด   (Marx  เรียกรูปแบบนี้ว่า  “กระฎุมพี”  เนื่องจากบทบาทที่ครอบงำของชนชั้นกระดุมพีหรือชนชั้นกลางที่เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม)
                สำหรับมาร์ก  ชั้นตอนสุดท้ายของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์  คือการโค่นล้มระบบทุนนิยมด้วยการลุกฮือขึ้นมาปฏิวัติของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน  และการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์  มาร์กเป็นผู้เสนอวามก้าวหน้าทางประวัติศาสตร์และชี้ให้เห็นว่าสังคมต้องพัฒนาการตามกระบวนการดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  

. สังคมในฐานะเป็นผลผลิตทางประวัติศาสตร์  (Societies as Historical) 
                ในแง่นี้เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจรูปแบบของสังคมเป็นผลผลิตของกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของมนุษย์  โดยเฉพาะปริมณฑลทางเศรษฐกิจ  บริบทของสังคมและความสัมพันธ์ทางสังคมทุนนิยมที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน  ถูกมองว่าความไม่เท่าเทียมกันทางชนชั้นและความสัมพันธ์ทางอำนาจเป็นผลผลิตที่ลักษณะเฉพาะทางประวัติศาสตร์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  จากการกระทำของมนุษย์ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ
                Marx  เน้นว่าการจัดระเบียบทางสังคมก็เป็นผลผลิตของมนุษย์ด้วย  เราจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าประวัติศาสตร์ในที่นี้คือ  ประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะชนชั้นทางสังคม  เพื่อสถาปนาการครอบงำในปริมณฑลทางการผลิต  (เศรษฐกิจ) และการเมือง

. ความสำคัญของพื้นฐานทางเศรษฐกิจ  (Economic Base)
                ความคิดพื้นฐานของมาร์ก  คิดว่าสถาบันทางเศรษฐกิจมีความสำคัญเป็นอันดับแรกในสังคม  คนที่เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าและบริการ  (ชนชั้นกลาง)  เป็นผู้มีอำนาจ  พวกเขาได้รับผลประโยชน์จากการขูดรีดชนชั้นกรรมกรที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการของพวกเขา
                ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่อยู่ในลักษณะของการขูดรีดนี้เป็นรากฐานสำคัญของทุนนิยม  สถาบันทางการเมือง  กฎหมายและศาสนา  มาร์กต้องการชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ  (โครงสร้างส่วนล่าง)  สถาบันต่างๆ ที่เกิดจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจ  (โครงสร้างส่วนบน)

. การแบ่งแยกชนชั้น  (Class Diaision)
                ความไม่เท่าเทียมกันด้านทรัพยากรอำนาจและความขัดแย้งกันด้านผลประโยชน์  อาจจะก่อให้เกิดการลุกฮือขึ้นปฏิวัติของชนชั้นกรรมกร

. ความแปลกแยก  (Alienation) ภายใต้ระบบทุนนิยม
                เป็นภาวะที่คนรู้สึกว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนถูกลดทอนลง

. การวิเคราะห์อุดมการณ์ 
                Marx  มองว่าค่านิยมและปทัสถานของสังคมนั้นเป็นอุดมการณ์ที่ทำหน้าที่รองรับความถูกต้องของอำนาจของชนชั้นปกครองเท่านั้น






1 ความคิดเห็น:

  1. ขอทราบชื่อ-นามสกุลเป้นภาษาไทยได้ไหมค่ะ จะนำไปอ้างอิงในวิจัยค่ะ

    ตอบลบ