วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัตินักเขียน : ชาติ กอบจิตติ

ประวัตินักเขียน : ชาติ กอบจิตติ
ประวัติย่อ
                ชาติ กอบจิตติ เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๗ ที่บ้านริมคลองหมาหอน ตำบลบ้านบ่อ  อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรคนที่สอง ในจำนวนพี่น้องผู้หญิง  คน และผู้ชาย ๔ คน รวม ๙ คน ชื่อเดิมคือสุชาติ  แต่เขาเห็นว่ามีคนใช้ชื่อนี้กันมาก จึงเปลี่ยนมาเป็น "ชาติ" พ่อของเขาเป็นพ่อค้าขายเกลือเม็ด ส่วนแม่ขายของเล็กๆน้อยๆ ต่อมาพ่อก็ไปค้าทรายและขายของชำ
                เขาเริ่มเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดใหญ่  บ้านปอ  แล้วย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเอกชัยในจังหวัดเดียวกัน เพราะไปอยู่กับยายชั่วคราว  เมื่อพ่อไปค้าทรายที่ราชบุรี เขามาเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่โรงเรียนปทุมคงคาเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ โดยอาศัยอยู่กับพระซึ่งเป็นเพื่อนของอาที่วัดตะพาน หรือวัดทัศนารุณ  มักกะสัน พอเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปี ๓ แล้วก็เรียนต่อเพาะช่าง ในสาขาภาพพิมพ์
                เนื่องจากเป็นคนชอบวาดรูป ชอบเขียนหนังสือ ฝันใฝ่ที่จะเป็นนักประพันธ์  เรื่องสั้นเรื่องแรกที่เขียนคือ เรื่อง "นักเรียนนักเลง" เขียนลงในหนังสืออนุสรณ์ปทุมคงคา  พ.ศ. ๒๕๑๒    ได้มีโอกาสเขียนบทละครแสดงที่เพาะช่างมากกว่าสิบเรื่อง บางเรื่องได้แสดงเองด้วย  ตอนที่เรียนอยู่ชั้นปีที่ ๒ เคยสมัครไปทำงานเปิดบาร์                            อะโกโก้  ที่ถนนพัฒน์พงษ์  เพื่อหางานเรียน พ.ศ. ๒๕๑๕ ช่วงเรียนชั้นปีที่    ศิริพงษ์ชวนไปทำอาร์ตเวิร์คหนังสือ  “เสนาสาร”  ยุคดารา  อยู่ระยะหนึ่งและได้เขียนวิจารณ์โทรทัศน์
                เขาแต่งงานเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ กับเพื่อนสาวที่เรียนจบเพาะช่างมาด้วยกัน ชื่อ รุจิรา เตชะศีลพิทักษ์  ซึ่งรับราชการอยู่กองโบราณคดี  แผนกซ่อมจิตรกรรมฝาผนัง  กรมศิลปากร  แล้วลาออก  ซึ่งต่อมาได้ช่วยกันทำกระเป๋าไปฝากขายตามห้าง ซึ่งมีรายได้ดี เคยได้ร่วมงานกับรุ่นน้องที่เพาะช่างทำสำนักพิมพ์ “สายธาร”  พิมพ์หนังสือออกมาหลายเล่ม วันหนึ่งได้นำเรื่องสั้นชื่อว่า “ผู้แพ้” มาให้เรืองเดชอ่านซึ่งตอนนั้นเรืองเดชได้ร่วมงานกันอยู่    เรืองเดชได้อ่านแล้วเห็นว่าเรื่องนี้ดีเลยส่งไปให้สุชาติ  สวัสดิ์ศรี ที่กำลังทำโลกหนังสือ”  อยู่ในขณะนั้นพิจารณา  ปรากฏว่าเรื่องสั้น ของชาติ  กอบจิตติ ได้ลงพิมพ์ในโลกหนังสือฉบับเรื่องสั้นชุด  “คลื่นหัวเดิ่ง” เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๒  และเป็นหนึ่งในสองเรื่องที่ได้รับรางวัล  “ช่อการะเกด ของสุชาติ  สวัสดิ์ศรี ซึ่งถือกันว่าเป็นรางวัลที่ได้มาตรฐานมากที่สุดรางวัลหนึ่งและเรื่องเดี่ยวกันนี้  ยังได้รางวัลชมเชยจากการคัดเลือกเรื่องสั้นดีเด่นประจำปี  ๒๕๒๒ ของสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
                ระหว่างพ.ศ. ๒๕๓๒ – ๒๕๓๕ ได้เดินทางไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย  ได้มีผลงานออกมาจากการเขียนเรื่องสั้นบันทึกชีวิตที่นั้นบางเรื่อง  จนพ.ศ. ๒๕๓๖  ก็จัดพิมพ์นวนิยายเรื่อง “เวลา”  โดยสำนักพิมพ์  “หอน”  ของตัวเอง  ปรากฏว่าได้รับรางวัลซีไรต์  ประจำปี  ๒๕๓๗  นับเป็นนักเขียนคนแรกที่ได้รับรางวัลซีไรต์ซ้ำเป็นครั้งที่ ๒ และเรื่องเดียวกันนี้ได้รับรางวัลนวนิยายดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติและกระทรวงศึกษาธิการประจำปี ๒๕๓๗
ปัจจุบัน เขาทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกัน จึงใช้ชีวิตอยู่เงียบๆที่ไร่ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาเขาทำงานด้านการเขียนเพียงอย่างเดียว นอกจากเรื่องสั้นและนวนิยายแล้ว  ในระยะหลังยังเขียนบทความและบทภาพยนตร์เพิ่มขึ้น
ชาติ กอบจิตติ ยึดอาชีพนักเขียนเพื่อเลี้ยงชีพเพียงอย่างเดียว เขาเคยกล่าวไว้ว่า ผม เลือกที่จะเป็นคนเขียนหนังสือ ผมให้มันทั้งชีวิต เอาทั้งชีวิตแลกกับมัน เขามีความละเอียดพิถีพิถันกับงานเขียนโดยเฉพาะนวนิยายอย่างมาก ดังจะเห็นได้ว่ากว่านวนิยายแต่ละเรื่องจะนำเสนอสู่สาธารณะจะใช้เวลาในการ สร้างสรรค์นานหลายปี แต่ทุกครั้งก็ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ที่สำคัญอย่างยิ่ง ชาติเป็นนักเขียนที่ต้องการสร้างนักอ่าน โดยเฉพาะนักอ่านรุ่นใหม่ เขาจึงไม่ต้องการให้ราคาหนังสือเป็นอุปสรรคต่อผู้รักการอ่านวรรณกรรมไทย ดังนั้นเขายืนยันให้สำนักพิมพ์ที่พิมพ์ผลงานของเขาใช้กระดาษปรู๊ฟซึ่งไม่มี สำนักพิมพ์ไหนนิยมใช้กันแล้ว เพราะไม่สวย แต่ชาติต้องการให้หนังสือราคาถูก มากกว่าสวยงาม เพื่อจะได้กระจายไปสู่คนอ่านในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนนักศึกษาที่ยังไม่มีรายได้ เมื่อคนอ่านหนังสือมาก ๆ จะได้เป็นฐานในการพัฒนาประเทศ เพราะชาติเชื่อว่า ไม่มีใครเสียคนเพราะอ่านหนังสือ
ในระยะหลังชาติตั้ง สำนักพิมพ์หอน เพื่อพิมพ์ผลงานของตนเองตามอุดมการณ์ที่วางไว้ นอกจากการสร้างสรรค์งานเขียนด้วยความรัก และถือเป็น งานเลี้ยงชีวิต แล้ว ชาติ กอบจิตติยังอุทิศเวลาทำประโยชน์แก่สังคมด้วยการสอนหนังสือให้เด็กๆ ที่โรงเรียนในหมู่บ้านช่วงปิดเทอม นอกจากนี้ยังรับเชิญไปบรรยายตามสถาบันการศึกษาต่างๆ เสมอเท่าที่โอกาสอำนวย ในช่วง ๔-๕ ปีที่ผ่านมานี้ ชาติสละเวลาเป็น พี่เลี้ยงให้เด็กรุ่นน้องที่ต้องการเป็นนักเขียน โดยคัดเลือกเด็กจำนวนหนึ่งที่มีแววเป็นนักเขียนโดยพิจารณาจากงานที่เสนอมาให้อ่าน แล้วชาติใช้บ้านของตนประหนึ่งเป็น โรงเรียนนักเขียนช่วงระยะเวลาหนึ่ง ให้พักกินอยู่โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และใช้เวลาในการสร้างสรรค์ผลงานตามที่ตนถนัด โดยขอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนทัศนะวิจารณ์กับชาติ กอบจิตติ ได้ตลอดเวลา หลังจาก หมดเทอมแล้ว หากผู้ที่อยากเป็นนักเขียนมุมานะสร้างงานต่อเนื่อง ส่งผลงานมาให้อ่าน และขอคำปรึกษา ชาติ กอบจิตติ ก็สนับสนุนให้กำลังใจตลอดไปเช่นกัน
ตลอดระยะเวลากว่า ๒๕ ปี แม้ ชาติ กอบจิตติ จะสร้างสรรค์ผลงานทั้งนวนิยายและเรื่องสั้นจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับนักเขียนคนอื่น แต่ผลงานของเขาเปี่ยมด้วยคุณภาพทั้งด้านแนวคิดอันแสดงสำนึกเชิงสังคมและด้านวรรณศิลป์อันแสดงนวัตกรรมของการสร้างสรรค์ ชาติ กอบจิตติ จึงเป็นนักเขียนร่วมสมัยที่ล้ำสมัย เขานำวงวรรณกรรมไทยก้าวไปข้างหน้าและอยู่ในกระแสวรรณกรรมโลกอย่างน่าภาคภูมิใจ
                ชาติ กอบจิตติ ใช้ชีวิตอย่างสมถะ มุ่งสร้างงานเขียนดีๆ เพื่อประโยชน์แก่นักอ่านอย่างไม่รีบร้อน งานของเขาจึงสร้างผลสะเทือนต่อสังคมไทยไม่น้อย นอกจากนี้ เขายังไม่ทอดทิ้งนักอ่านรุ่นใหม่และผลักดันสรรค์สร้างนักเขียนรุ่นน้อง ชาติ กอบจิตติ จึงเป็นแบบอย่างทั้งแนวคิด แนวเขียน แก่นักเขียนนักอ่านร่วมสมัย และเป็นเสียงแห่งมโนสำนึกของยุคสมัยที่ปลุกผู้อ่านให้พิจารณาความเป็นจริงของโลกและชีวิตอย่างไม่ย่อท้อ

งานเขียนครั้งแรก
·       เรื่องสั้นเรื่องแรก คือ เรื่อง "นักเรียนนักเลง" เขียนลงในหนังสืออนุสรณ์ปทุมคงคา  พ.ศ. ๒๕๑๒
ผลงานรวมเล่ม
·       ทางชนะ : ๒๕๒๒ เรื่องสั้นกึ่งนิยาย
·       จนตรอก : ๒๕๒๓ นวนิยายขนาดสั้น
·       คำพิพากษา : ๒๕๒๔ (รางวัลซีไรต์) นวนิยาย
·       เรื่องธรรมดา : ๒๕๒๖ เรื่องสั้นขนาดยาว
·       มีดประจำตัว : ๒๕๒๗ รวมเรื่องสั้นชุดที่ ๑
·       หมาเน่าลอยน้ำ พ.ศ. ๒๕๓๐    นวนิยายขนาดสั้น
·       พันธุ์หมาบ้า : ๒๕๓๑ นวนิยายขนาดยาว
·       นครไม่เป็นไร : ๒๕๓๒ รวมเรื่องสั้นชุดที่ ๒
·       เวลา : ๒๕๓๖ (รางวัลซีไรต์) นวนิยาย
·       บันทึก : บันทึกเรื่องราวไร้สาระของชีวิต : ๒๕๓๙ ความเรียง-บันทึก
·       รายงานถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตี : ๒๕๓๙ เรื่องสั้นขนาดยาว
·       เปลญวนใต้ต้นนุ่น : ๒๕๔๖ รวมบทความของ ชาติ จากนิตยสารสีสัน ๒๕๔๒-๒๕๔๖
·       ลมหลง : ๒๕๔๓ บทภาพยนตร์
·       บริการรับนวดหน้า : ๒๕๔๘ รวมเรื่องสั้นชุดที่ ๓
งานที่ได้รับรางวัล
·       เรื่องสั้นเรื่อง ผู้แพ้ ได้รับรางวัล ช่อการะเกด และรางวัลชมเชยจากการคัดเลือกเรื่องสั้นดีเด่นประจำปี ๒๕๒๒จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
·       คำพิพากษา : ๒๕๒๔ (รางวัลซีไรต์) นวนิยาย พิมพ์เผยแพร่มากกว่า๒๐ ครั้ง
·       นวนิยายเรื่อง เวลา พ.ศ. ๒๕๓๖  ได้รับรางวัลซีไรต์ เป็นครั้งที่  ปี ๒๕๓๗ และได้รับรางวัลนวนิยายดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี ๒๕๓๗




1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 มกราคม 2565 เวลา 17:02

    Best Coin Casino 2021 | Best Online Casino
    Best Coin Casino 2021 | Best Online Casino | Play Now | No Download 인카지노 or 바카라 사이트 Registration Required. Get all the latest casino bonus codes, games & promotions from 1xbet this

    ตอบลบ